ประโยชน์ - มะเดื่อฝรั่ง



ความเป็นมาของมะเดื่อฝรั่ง
       ใน บรรดาผลไม้ที่เขียนไว้ในคัมภีร์ไบเบิลได้พูดถึงผลไม้ที่ชื่อ “มะเดื่อ ฝรั่ง” ไว้มากที่สุด บ้างก็ว่าเป็นผลไม้ที่ต้องห้ามโดยอ้างถึงอาดัมและอี ฟกินผลไม้ที่ต้องห้ามที่ชื่อว่ามะเดื่อฝรั่ง ทำให้เกิดอารมณ์กิเลสและตัณหา ต่างๆ จึงเกิดความรู้สึกอับอายต่อร่างกายที่เปลือยเปล่า 

       ดังนั้น จึงได้ไป เด็ดเอาใบมะเดื่อฝรั่งมาปิดบังของสงวน ในพระคัมภีร์ยังบอกรายละเอียดถึงงาน เลี้ยงหรือการกินของคนในสมัยนั้น(ประมาณ 6,000ปีที่ผ่านมา) จะพูดถึงอาหาร หลักที่ประกอบไปด้วยขนมปัง น้ำผึ้งและผลมะเดื่อฝรั่ง เหมือนกับว่าในสมัย นั้นมีการบริโภคมะเดื่อฝรั่งเป็นชีวิตประจำวันชนิดหนึ่ง ยิ่งไปกว่านั้น มี แหล่งที่ขุดพบซากต้นมะเดื่อพบว่าเกิดมานานไม่น้อยกว่า 5,000 ปี ก่อน คริสต กาล

       ประมาณ 2,000 ปี ก่อนคริสตกาล เรื่องของมะเดื่อฝรั่ง มีเขียนไว้ในหนังสือ Badylomian Hymn ได้กล่าวขานถึงพระเจ้าแห่งกรีกพระองค์หนึ่งที่มีชื่อว่าดีมีเตอร์ ได้นำผลมะเดื่อมาเผยแพร่ให้คนได้รู้จักเป็นครั้งแรกโดยใช้ชื่อเป็นภาษา อังกฤษว่า “FIG” และในขณะนั้นมะเดื่อฝรั่งได้ถูกจัดเป็นผลไม้ศักด็สิทธิ์ของประเทศ อียิปต์,กรีซและอิตาลีและอีกหลายประเทศในแถบเอเซียตะวันตกเฉียงใต้ เมื่อ

       เจ้าของเมืองอัตติกา (Attica) ที่มีชื่อว่าโซลอน ได้มีการลักลอบนำต้นมะเดื่อฝรั่งออกมาจากประเทศกรีซมาปลูกที่เมืองอัตติกา เมื่อช่วงเวลาประมาณ 639-559 ก่อนคริสตกาล มะเดื่อฝรั่งเริ่มมีการปลูกแพร่หลายที่เมืองนี้ ต่อมากษัตริย์พระองค์หนึ่งของเปอร์เซียนมีนามว่า เซอร์เซส (Xerxes) ทำศึกรบชนะชาวกรีกที่เมืองซาลามิส (Salamis) เมื่อประมาณ 480 ปีก่อนคริสตกาลและในช่วงที่ชนะสงครามนั้นกษัตริย์เซอร์เซสได้รับประทานผล มะเดื่อฝรั่งที่ปลูกจากมืออัตติกาเป็นประจำทุกมื้อ

       นอกจากนั้นยังมีกษัตริย์ชาวกรีกพระองค์หนึ่งที่มีชื่อว่าไมไทเดท (Mithridates) ได้ยกย่องมะเดื่อฝรั่งเป็นผลไม้ที่เป็นยารักษาโรคได้หลายชนิดและยังสั่งให้ ประชาชนภายใต้การปกครองบริโภคมะเดื่อฝรั่งเป็นผลไม้ที่เป็นยารักษาโรคหลาย ชนิดและยังได้สั่งให้ประชาชนภายใต้การปกครองบริโภคมะเดื่อฝรั่งเป็นประจำทุก วัน


       มะเดื่อฝรั่งได้ถูกจัดเป็นผลไม้สำคัญอีกชนิดหนึ่งสำหรับนักกีฬาโอลิมปิคใน สมัยเริ่มแรกที่มีการแข่งขันที่ประเทศกรีก และในสมัยนั้นได้มีการใช้มะเดื่อฝรั่งมอบเป็นรางวัลสำหรับผู้ชนะการแข่งขัน อีกด้วย

       ในช่วงเวลาประมาณ 52-133 ปี ก่อนคริสตกาลได้มีนักเขียนโรมันชื่อดังท่านหนึ่งที่ชื่อว่า พลินี (Pliny) ได้พูดถึงคุณประโยชน์ของมะเดื่อฝรั่งไว้ว่า “เป็นผลไม้ที่ช่วยเสริมสร้าง ซ่อมแซม เพิ่มความแข็งแรงของเด็ก ถนอมสุขภาพ และเมื่อบริโภคเป็นประจำจะช่วยลดรอยเหี่ยวย่นทำให้ผู้บริโภคอ่อนวัยลง” หรือแม้แต่โหรชื่อดังในอดีตที่มีชื่อว่าโมฮัมเหม็ด (Mohammed) เคยอุทานออกมาว่า “ถ้าให้ตอนเองได้นำผลไม้ขึ้นสู่สวรรค์ได้ ผลไม้ชนิดนั้นจะต้องเป็นมะเดื่อฝรั่ง” ยังมีคำกล่าวถึงคุณประโยชน์ของมะเดื่อฝรั่งไว้อีกมากมายในอดีต

       สำหรับคนไทยเมื่อพูดถึงผลไม้ชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า “มะเดื่อ” มักจะ นึกไปถึงผลมะเดื่อที่มีแต่ยางที่บริโภคไม่ได้ รู้จักแต่มะเดื่อป่า, มะเดื่ออุทุมพร (มะเดื่อชุมพร) ซึ่งเป็นไม้ป่าชนิดหนึ่งที่มีขนาดของต้นใหญ่มาก ในวารสาร “อภัยภูเบศรสาร” ที่ปี 5 ฉบับที่ 52 ประจำเดือนตุลาคม 2550 ได้บรรยายไว้ว่า “มะเดื่ออุทุมพร” (คำว่าอุทุมพร แปลว่ามะเดื่อในภาษาบาลี) บางพื้นที่เรียก “มะเดื่อชุมพร” เชื่อกันว่าเป็นที่มาของจังหวัดชุทพร ส่วนทางภาคอีสานจะเรียกว่า “เดื่อเกลี้ยง” ทางภาคใต้จะเรียก “เดื่อน้ำ” ซึ่ง มะเดื่ออุทุมพรนั้นถือเป็นไม้มงคลเป็นสมุนไพรที่เก่าแก่มาเป็นพันๆปี เล่ากันว่าพระพุทธเจ้าองค์ที่ 26 พระนามว่า พระโกนาคมนพุทธเจ้า ทรงบรรลุสัมโพธิญาณอันอุดม ณ ควงไม้มะเดื่อ หลังทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ 6 เดือนเต็ม มะเดื่อในตำนานของชาวฮินดูถือว่าเป็นไม้มงคล และเป็นที่นับถือของคนไทย พม่า มอญ มาแต่โบราณ คนไทยเชื่อว่าเป็นไม้มงคลที่สมควรปลูกประจำทิศเหนือโดยจะทำให้บ้านนั้นอุดม สมบูรณ์ ยอดอ่อนและผลอ่อนยังนำมารับประทานเป็นผัก ทั้งเป็นรูปผักสดกินกับน้ำพริกหรือกินกับขนมจีนน้ำยา แกงส้ม ยำ เป็นต้น

       ประโยชน์ทางยาของมะเดื่อทุมพร คือ ราก ใช้ต้มน้ำดื่ม แก้ไข้ แก้หวัด แก้ไข้ออกตุ่ม แก้ไข้ที่ทำให้ต่อมน้ำเหลืองโต แก้ร้อน นอกจากนั้นยังใช้ฝนทารักษาเริมและงูสวัด เปลือกต้น ใช้ต้มข้าวน้ำชะล้างแผลรักษาแผลเรื้อรัง แก้ประดงผื่นคัน ใช้อมบ้วนปาก แก้เหงือกบวม ยางของมะเดื่อยังช่วยรักษาอาการปวดแสบปวดร้อนจากเริมหรืองูสวัด ในอินเดียเชื่อว่าในทุกส่วนของมะเดื่อมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด การศึกษาทางเภสัชวิทยาพบว่า มะเดื่อมีฤทธิ์ลดการอักเสบแก้ปวด ลดไข้ ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านเชื้อไวรัส คลายอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด ป้องกันไม่ให้ตับถูกทำลายโดยสารพิษซึ่งจะเห็นว่าการทดลองสมัยใหม่สนับสนุน การใช้ของคนโบราณ มะเดื่ออุทุมพรจึงเป็นสมุนไพรที่เราต้องช่วยกันอนุรักษ์ทั้งในฐานะของผัก พื้นบ้านสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน หรือในฐานะของยาเย็นที่ช่วยแก้พิษร้อนทั้งในร่างการและผิวพรรณ และที่สำคัญมะเดื่ออุทุมพรให้ร่มเงาดีมากเป็นพืชที่มีความสามารถในการช่วย โลกร้อนได้ดีชนิดหนึ่ง

       ในหนังสือ The exotic fruits of Malaysia ได้จัดให้มะเดื่อเป็นผลไม้แปลกและหายากชนิดหนึ่งของประเทศมาเลเซียและในราย ละเอียดเกี่ยวกับเรื่องมะเดื่อในหนังสือเล่มนี้ยังได้บอกว่าสายพันธุ์ของ มะเดื่อฝรั่งที่ปลูกกันมากทางแถบเอเชียตะวันตก, ยุโรปและสหรัฐอเมริกาไม่สามารถนำมาปลูกในประเทศมาเลเซียได้โดย มีความเชื่อว่าต้นมะเดื่อฝรั่งไม่สามารถปรับตัวเข้ากัยสภาพภูมิอากาศของ ประเทศไทยได้เพราะเป็นเมืองร้อน ความจริงเป็นเช่นนั้นหรือไม่ แต่สำหรับประเทศไทยแล้วมีตัวอย่างที่ยืนยันได้ว่ามะเดื่อฝรั่งปลูกและให้ผล ผลิตได้ดี

       อย่างไรก็ตามมาเลเซียยังมีมะเดื่ออยู่สายพันธุ์หนึ่งที่มีลักษณะของใบมาก คนมาเลเซียเรียกต้นมะเดื่อว่า “อะรา” (ARA) เมื่อ ต้นเจริญเติบโตเต็มที่จึงมีความสูงของต้นเฉลี่ย 6-8 เมตร มีลำต้นสั้นกิ่งแผ่กว้างทึบ ทำให้ยอดพุ่มมีทรงรูปโดมมีน้ำยางข้นและเหนียว ใบเกิดสลับเป็นลักษณะใบเดี่ยวและไม่มีแฉกเหมือนกับใบมะเดื่อฝรั่ง ลักษณะของใบอ่อนจะมีสีเขียวเป็นมันวาวแซมชมภู เมื่อใบแก่จะมีขนาดของใบใหญ่มากและมีขนาดสีเขียวเข้ม ผลอ่อนของมะเดื่อมาเลเซียจะมีสีเขียวเมื่อผลสุกจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหรือสี น้ำตาลแดง แตดต่างจากมะเดื่อฝรั่งตรงที่ผลมีขนและดูไม่น่ารับประทาน เมื้อผ่าดูลักษณะภายในผลเนื้อจะมีสีขาวอมชมพู แต่เป็นที่สังเกตว่าถึงแม้จะผลไม่สวยแต่เมื่อได้รับประทานมีรสชาติอร่อย เฉพาะตัว มีกลิ่นหอมเหมือนน้ำผึ้ง

       การปลูกมะเดื่อมาเลเซียในปัจจุบัน จะเน้นปลูก เพื่อใช้เป็นไม้ประดับ เนื่องจากเป็นสายพันธุ์ที่มีการเจริญเติบโตเร็วและมีขนาดของใบใหญ่ โดยเฉพาะในระยะที่แตกใบอ่อนจะมีสีเขียวแต้มชมพูดูสวยงามมาก เหมาะในการจัดภูมิทัศน์อีกชนิดหนึ่งและใช้เป็นไม้ที่ให้ร่มเงาได้ดี ถ้าปลูกแบบระยะชิดหลายต้นบริเวณรอบๆ สระน้ำหรือบริเวณขอบบ่อจะสวยงามมาก มะเดื่อมาเลเซียจะเริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุต้นอย่างน้อย 3 ปี และการออกดอกติดผลของมะเดื่อมาเลเซียจะเหมือนกับมะเดื่ออุทุมพรบ้านเราคือ ออกดอกบริเวณลำต้นหรือกิ่งใหญ่ ในแต่ละช่อให้ผลหนาแน่นมาก แต่ขนาดของผลมะเดื่อมาเลเซียมีขนาดใหญ่กว่ามะเดื่ออุทุมพรเท่าตัว (มะเดื่อมาเลเซียใหญ่พอๆกับมะเดื่อฝรั่ง) มะเดื่อมาเลเซียปลูกเจริญญเติบโตได้ดีในประเทศและส่วนใหญ่ใช้เป็นไม้ประดับ ยืนต้น

ที่มา - http://blog.taradkaset.com