มูลนิธิธรรมกายช่วยเหลือ 323 วัด 4 จังหวัดชายแดนใต้ ก้าวสู่ปีที่ 8

       "เราจะไม่ยอมให้แสงธรรมดับหายไปจาก..4 จังหวัดภาคใต้" พิธีถวายจตุปัจจัยไทยธรรม ไม่เพียงเป็นกำลังใจให้พุทธบุตรผู้หาญกล้าเท่านั้น แต่พุทธศาสนิกชนใน 4 จังหวัดภาคใต้ ยังรู้สึกอบอุ่นใจอย่างยิ่งที่ได้รับความห่วงใยจากชาวพุทธทั่วโลก




มูลนิธิธรรมกายช่วยเหลือ 323 วัด 4 จังหวัดชายแดนใต้ ก้าวสู่ปีที่ 8
เคียงข้างพุทธบุตร 323 วัด 4 จังหวัด ภาคใต้

รับชมภาพพิธีถวายสังฆทาน คลิก

สามารถติดตามรับชมการถ่ายทอดสดพิธีทอดผ้าป่า ออนไลน์


ปฐมเริ่มพิธีถวายสังฆทานจาก 238 วัด สู่ 323 วัด ในปัจจุบัน
       เมื่อปีพุทธศักราช 2547 ได้เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในจังหวัดนราธิวาส ยะลา และปัตตานี จากนั้นเริ่มทวีความรุนแรงขึ้น จนเป็นเหตุให้พระภิกษุสงฆ์ได้รับอันตราย และมีความยากลำบากในการประกอบกิจของสงฆ์ จนบางวัดต้องประกาศงดออกบิณฑบาต ซึ่งส่งผลกระทบต่อขวัญ และกำลังใจของพุทธศาสนิกชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก ”โครงการช่วยเหลือพุทธบุตร 238 วัด 3 จังหวัดภาคใต้” จึงได้เกิดขึ้นโดยดำริของพระเทพญาณมหามุนี (หลวงพ่อธัมมชโย) เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย และประธานมูลนิธิธรรมกาย

ปฐมเริ่มพิธีถวายสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 238 วัด ครั้งที่ 1

       ปฐมเริ่มพิธีถวายสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 238 วัด ,พิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศลแด่ผู้วายชนม์ จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ.2548 ณ วัดมุจลินทวาปีวิหาร อ.เมือง จ.ปัตตานี และวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ.2548 ณ วัดทองดีประชาราม จังหวัดนราธิวาส คลิกเพื่อชมภาพ โดยพระเทพญาณมหามุนี ได้มอบหมายให้พระครูปลัดภูเบศ ฌาณาภิญโญ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย พร้อมด้วยคณะพระภิกษุจากชมรมพระกัลยาณมิตรทั่วประเทศนำปัจจัยไทยธรรมไปมอบแด่คณะสงฆ์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

       ต่อมาในการจัดงานครั้งที่ 5 เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.2548 ณ จังหวัดปัตตานี ได้เพิ่มจำนวนวัดที่เข้าร่วมโครงการอีก 28 วัด รวมเป็น 266 วัด และเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2554 ได้จัดพิธีถวายสังฆทาน ณ โรงแรมมารีน่าสายธาร อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส มีวัดเข้าร่วมโครงการเพิ่มอีก 20 วัด รวมเป็น 286 วัด ใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จนกระทั่งในเดือนกรกฎาคม 2555 ได้เพิ่มขึ้นเป็น 323 วัด

พระครูปลัดภูเบศ ฌานาภิญโญ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย
เดินทางไปเยี่ยมอาการพระธวัชชัย ไชยหมาน พระลูกวัดวาฬุการาม
ที่ถูกคนร้ายลอบยิ่งขณะออกบิณฑบาต ณ โรงพยาบาลยะลา เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2552

       พระครูปลัดภูเบศ ฌาณาภิญโญ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ได้เล่าว่า การจัดงานครั้งแรกๆ พระในพื้นที่ส่วนใหญ่ท่านคิดว่า วัดพระธรรมกายคงจะเหมือนหมู่คณะอื่นๆ ที่ลงมาแจกข้าวของแล้วทำข่าว พอออกข่าวเสร็จก็เงียบหายไป และพระส่วนใหญ่ท่านก็เคยได้อ่านข่าวจากหนังสือพิมพ์ ที่มีการโจมตีพระเดชพระคุณหลวงพ่อ โจมตีวัดพระธรรมกาย ด้วยข้อมูลที่คลาดเคลื่อนมาโดยตลอด ทำให้พระส่วนใหญ่ท่านยังเฉยๆ อยู่ ต่อเมื่อเราลงไปจัดงานเป็นประจำทุกเดือน ท่านจึงเริ่มเห็นความจริงใจว่า เราตั้งใจไปช่วยท่านจริงๆ และพร้อมหยัดสู้เคียงข้างท่าน ไม่ปล่อยให้ท่านสู้อย่างโดดเดี่ยว


       ในส่วนของทางราชการ ใหม่ๆ เขามองเราคล้ายที่พระท่านมอง คือ นึกว่าเราไปแบบฉาบฉวย แต่เรารู้ดีว่าปัญหามันยังมีอีกเยอะและยังไม่ได้รับการแก้ไข ถ้าเราจบแบบที่เขาทำๆ กัน นั่นหมายถึงว่า พระคงจะอยู่กันอย่างลำบาก ก็ทำกันมาอย่างต่อเนื่อง พอจัดงานผ่านไป 4 ครั้ง พบว่ายังอีก 2 อำเภอ ในจังหวัดสงขลา คือ อำเภอเทพา อำเภอสะบ้าย้อย ที่คณะสงฆ์ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในพื้นที่มากเช่นกัน จึงผนวก 2 อำเภอให้เข้ามาร่วมโครงการด้วย และพิธีในครั้งที่ 5 ก็ได้เปลี่ยนชื่อจากเดิม คือ 238 วัดมาเป็น 266 วัด 4 จังหวัดภาคใต้ ตั้งแต่นั้นมา (ปัจจุบัน คือ 323 วัด จังหวัดปัตตานี 103 วัด จังหวัดยะลา 75 วัด จังหวัดนาราธิวาส 97 วัด จังหวัดสงขลา 48 วัด)

ก้าวสู่ปีที่ 8 เคียงข้างพุทธบุตร 323 วัด 4 จังหวัดภาคใต้
       อีกไม่กี่เดือนจะก้าวสู่ปีที่ 8 ในเดือนกรกฎาคมที่จะถึงนี้ แห่งการเคียงข้างพุทธบุตร 286 วัด 4 จังหวัดภาคใต้ จากการเริ่มต้นโครงการในปี พ.ศ. 2548 ได้ส่งมอบความช่วยเหลือทั้งปัจจัย ไทยธรรม เครื่องอุปโภค บริโภคในทุก ๆ เดือนไม่เคยขาดเลย และจะส่งมอบความช่วยเหลือนี้ไปจนกว่าเหตุการณ์จะสงบ

       โดยพระเทพญาณมหามุนี (หลวงพ่อธัมมชโย) ได้กล่าวว่า “ในฐานะที่เป็นชาวพุทธก็จะต้องรักษาพระพุทธศาสนาเอาไว้ ในเมื่อพุทธบุตรหยัดสู้อยู่ที่ตรงนั้น เราต้องอยู่เคียงข้างท่าน และแทนที่จะออกจากพื้นที่ ควรที่จะชวนหมู่ญาติที่อยู่นอกพื้นที่ให้กลับเข้าไปอยู่พื้นที่ตรงนั้นถึงจะถูกหลักวิชชา เพราะในอดีตพี่น้องผองไทยแม้จะต่างความเชื่อ ต่างวัฒนธรรม ก็อยู่ร่วมกันมาได้อย่างสันติสุข พึ่งไม่นานมานี้เองที่เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น ที่ผ่านมาชาวพุทธได้ให้โอกาสเพื่อนต่างศาสนิกที่อยู่บนผืนแผ่นดินไทย ไม่ว่าจะนับถือศาสนา หรือความเชื่อใดๆ ให้ได้รับความอุ่นใจและได้รับความสะดวกสบาย ในการที่นับถือความเชื่อและศาสนาของตน เพื่อเดินทางไปสู่สันติสุข เพื่อทำความบริสุทธิ์ กาย วาจา ใจ ตามความเชื่อของตนเอง ชาวพุทธอยู่ก็ได้ให้โอกาสอย่างนี้มาตลอด ลองศึกษาดูก็ได้จากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ชาวไทยพุทธอยู่บนผืนแผ่นดินนี้มานาน เพราะพระพุทธศาสนาเกิดก่อนความเชื่อใดๆ มานานทีเดียว...

       ลำพังเพียงหมู่คณะวัดพระธรรมกายคงทำได้แค่ระดับหนึ่ง เดือนหนึ่งเราทำได้เพียงครั้งเดียว แต่จริงๆ แล้วอยากทำทุกวัน เพราะทราบดีว่า พุทธบุตรทุกรูปต้องขบฉันทุกวัน แล้วก็มีความจำเป็นหลายๆ อย่าง ในการที่ต้องอยู่ตรงนั้น เพราะฉะนั้นที่เราทำเป็นการทำเพื่อแสวงบุญ ทำด้วยความรักพระพุทธศาสนา และเทิดทูนพุทธบุตรที่ปกปักรักษาพระพุทธศาสนาโดยเอาชีวิตเป็นเดิมพัน..."

มอบกองทุนหนุนแรงใจช่วยครูใต้
       ต่อมาเมื่อคณะครูที่ปฏิบัติหน้าที่ต่างได้รับความเดือดร้อนจากเหตุการณ์ความไม่สงบ พระเทพญาณมหามุนี (หลวงพ่อธัมมชโย) ได้มีดำริจัดตั้งกองทุนหนุนแรงใจช่วยครูใต้ เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้คุณครูผู้หยัดสู้รักษาผืนแผ่นดิน โดยจัดให้มีพิธีมอบกองทุนหนุนแรงใจช่วยครูใต้ ครั้งแรกเมื่อวันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2549 ณ หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี และจัดต่อเนื่องทุกเดือนจนถึงปัจจุบันเป็นครั้งที่ 53 (มิถุนายน พ.ศ.2555)

พิธีมอบกองทุนหนุนแรงใจช่วยครูใต้

กว่า 4 ปี นำอาหารโครงการตักบาตรพระ 2 ล้านรูปฯ บรรเทาความเดือดร้อน 4 จว.ชต.
       โดยตลอดระยะเวลากว่า 4 ปี ที่วัดพระธรรมกายและมูลนิธิธรรมกาย พร้อมด้วยองค์กรภาคีทั้งภาครัฐและเอกชน นำข้าวสารอาหารแห้งที่ได้จากโครงการตักบาตรพระ 2 ล้านรูป 77 จังหวัด ทุกวัดทั่วไทย ไปมอบแด่พระสงฆ์ ทหาร ตำรวจ ครู นักเรียน และประชาชนในพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทุกเดือน(ยกเว้นช่วงน้ำท่วมใหญ่ ปี 2554 ที่นำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม) เป็นจำนวน 302 คันรถสิบล้อ น้ำหนักสิ่งของช่วยเหลือคันละ 12 ตัน คิดเป็นน้ำหนักรวมข้าวสารอาหารแห้ง เครื่องอุปโภค บริโภคที่นำไปช่วยภาคใต้ 3,624 ตัน

       นอกจากนี้ ในปลายปี 2554 ประเทศไทยเกิดมหาอุทกภัยใหญ่ วัดพระธรรมกายและมูลนิธิธรรมกายนำถุงยังชีพไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม 30 จังหวัด จำนวน 400,000 ชุด อีกส่วนหนึ่งยังนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยต่างๆ ทั่วประเทศอีกด้วย

วัดพระธรรมกายและมูลนิธิธรรมกายนำถุงยังชีพไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม 30 จังหวัด








พิธีถวายสังฆททาน 286 วัด 4 จังหวัดภาคใต้ที่ทำกันมาต่อเนื่องทุกปี






"วีรบุรุษแห่งกองทัพธรรม ผู้น่าสรรเสริญ"
 โอวาทพระเทพญาณมหามุนี (หลวงพ่อธัมมชโย)

       "ในฐานะที่เป็นชาวพุทธก็จะต้องรักษาพระพุทธศาสนาเอาไว้ ในเมื่อพุทธบุตรหยัดสู้อยู่ที่ตรงนั้น เราต้องอยู่เคียงข้างท่าน และแทนที่จะออกจากพื้นที่ ควรที่จะชวนหมู่ญาติที่อยู่นอกพื้นที่ให้กลับเข้าไปอยู่พื้นที่ตรงนั้นถึงจะ ถูกหลักวิชชา เพราะในอดีตพี่น้องผองไทยแม้จะต่างความเชื่อ ต่างวัฒนธรรม ก็อยู่ร่วมกันมาได้อย่างสันติสุข พึ่งไม่นานมานี้เองที่เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น ที่ผ่านมาชาวพุทธได้ให้โอกาสเพื่อนต่างศาสนิกที่อยู่บนผืนแผ่นดินไทย ไม่ว่าจะนับถือศาสนา หรือความเชื่อใดๆ ให้ได้รับความอุ่นใจและได้รับความสะดวกสบาย ในการที่นับถือความเชื่อและศาสนาของตน เพื่อเดินทางไปสู่สันติสุข เพื่อทำความบริสุทธิ์ กาย วาจา ใจ ตามความเชื่อของตนเอง ชาวพุทธอยู่ก็ได้ให้โอกาสอย่างนี้มาตลอด ลองศึกษาดูก็ได้ จากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ชาวไทยพุทธอยู่บนผืนแผ่นดินนี้มานาน เพราะพระพุทธศาสนาเกิดก่อนความเชื่อใดๆ มานานทีเดียว...

       ...ลำพังเพียงหมู่คณะวัดพระธรรมกายคงทำได้แค่ระดับหนึ่ง เดือนหนึ่งเราทำได้เพียงครั้งเดียว แต่จริงๆ แล้ว อยากทำทุกวัน เพราะทราบดีว่า พุทธบุตรทุกรูปต้องขบฉันทุกวัน แล้วก็มีความจำเป็นหลายๆ อย่าง ในการที่ต้องอยู่ตรงนั้น เพราะฉะนั้นที่เราทำเป็นการทำเพื่อแสวงบุญ ทำด้วยความรักพระพุทธศาสนา และเทิดทูนพุทธบุตรที่ปกปักรักษาพระพุทธศาสนาโดยเอาชีวิตเป็นเดิมพัน..."

หยัดสู้
ท่านไม่โดดเดี่ยวเดียวดาย
แม้อยู่ห่างไกลแต่ใจเราใกล้กัน ไม่มีสิ่งใดอาจมาขวางกั้น
เราเป็นพุทธบุตรเหมือนกันร่วมด้วยช่วยกันผ่าฟันผองภัย
ท่านช่างโดดเด่นเช่นดวงตะวัน
ที่กล้าประจัญอุปสรรคมากหลาย ดั่งเรือลำน้อยที่ค่อย ๆ พาย
ฝ่าคลื่นลมมรสุมร้ายโดยไม่หวั่นไหวอยู่กลางทะเล
ท่านคือพุทธบุตรที่แท้จริง
สละทุกสิ่งเพื่อพระศาสน์ด้วยใจทุ่มเท ปักใจมั่นหยัดสู้โดยไม่หันเห
ดั่งเกาะกลางทะเลที่ไม่ซวนเซเพราะคลื่นลมแรง
ขอสาธุการความอาจหาญของท่านผู้นี้
ที่ทุ่มชีวีด้วยปณิธาณอันกล้าแกร่ง เป็นแรงบันดาลใจที่ดีให้โลกเปลี่ยนแปลง
ดุจอาทิตย์ส่องแสงขับความมืดให้โลกไสว
ขอสาธุการ..ขอสาธุการ ..ขอสาธุการ..วีรบุรุษกองทัพธรรม


พระเทพญาณมหามุนี “เราจะไม่ยอมให้แสงธรรมดับหายไปจาก 4 จังหวัดภาคใต้”

ครั้งปฐมเริ่ม
พิธีถวายปัจจัยไทยธรรมแด่ 238 วัด
ใน 3 จังหวัดภาคใต้

       เมื่อเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ นราธิวาส ยะลา และปัตตานี ได้เริ่มทวีความรุนแรงขึ้น จนเป็นเหตุให้พระภิกษุสงฆ์ได้รับอันตราย และมีความยากลำบากในการประกอบกิจของสงฆ์ จนบางวัดต้องประกาศงดออกบิณฑบาต ซึ่งทรงผลกระทบต่อขวัญและกำลังใจของพุทธศาสนิกชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก

       ด้วยเหตุนี้ พระเดชพระคุณพระเทพญาณมหานมุนี (หลวงพ่อธัมมชโย) ประธานมูลนิธิธรรมกาย จึงริเริ่มเชิญชวนพุทธบริษัท 4 ทั่วประเทศและทั่วโลก ให้มาร่วมกันถวายปัจจัยไทยธรรมแด่วัดทุกวัด ตั้งแต่เริ่มแรก 3 จังหวัด จนมาบัดนี้เพิ่มขึ้นเป็น 4 จังหวัดภาคใต้อย่างเป็นประจำทุกเดือน โดยเริ่มต้นให้ความช่วยเหลือตั้งแต่เดือน มิถุนายน พ.ศ.2548 เป็นต้นมา

       ในครั้งแรกนี้ พระครูปลัดภูเบศ ฌาณาภิญโญ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย พร้อมด้วยคณะพระภิกษุจากชมรมพระกัลยาณมิตรทั่วประเทศ ได้เดินทางไปเยี่ยมเยียนให้กำลังใจ และถวายปัจจัยไทยธรรม แด่ทุกวัดในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ.2548 ที่วัดมุจลินทวาปีวิหาร จังหวัดปัตตานี และวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ.2548 ที่วัดทองดีประชาราม จังหวัดนราธิวาส

       นอกจากนี้ยังได้เดินทางไปให้กำลังใจและถวายปัจจัยแด่พระภิกษุผู้ได้รับบาด เจ็บจากเหตุการณ์ลอบวางระเบิด ซึ่งพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลอีกด้วย

" ครั้งที่ 1 :
7 มิถุนายน พ.ศ.2548
ณ วัดมุจลินทวาปีวิหาร
จังหวัดปัตตานี

8 มิถุนายน พ.ศ.2548
ณ วัดทองดีประชาราม
จังหวัดนราธิวาส "

ครั้งที่ 81
พิธีถวายจตุปัจจัยไทยธรรมแด่ 286 วัด
ใน 4 จังหวัดภาคใต้

       พิธีครั้งที่ 81 นี้ ได้จัดขึ้นในวันคุ้มครองโลก วันที่ 22 เมษายน พ.ศ.2555 ณ วัดพระธรรมกาย โดยมีการถวายมหาสังฆทาน 20,000 กว่าวัดทั่วประเทศ และพระภิกษุจาก 286 วัด 4 จังหวัดภาคใต้ที่หยัดสู้เอาชีวิตเป็นเดิมพันรักษาพระพุทธศาสนา

" ครั้งที่ 81 :
22 เมษายน พ.ศ.2555
ณ วัดพระธรรมกาย
จังหวัดปทุมธานี "

ครั้งที่ 83
พิธีถวายจตุปัจจัยไทยธรรมแด่ 286 วัด
ใน 4 จังหวัดภาคใต้

ยะลาทำบุญอุทิศเหยื่อไฟใต้
ถวายสังฆทานพระ 286 วัด ปีที่ 7 ครั้งที่ 83

       วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2555 ที่วัดพุทธภูมิ พระอารามหลวง อ.เมืองจ.ยะลา นายสายัณห์ อินทรภักดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา ได้เป็นประธานในพิธีทำบุญตักบาตร ถวายสังฆทาน 286 วัด ปีที่ 7 ครั้งที่ 83 แด่คณะสงฆ์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และอีก 4 อำเภอ จาก จ.สงขลา โดยมีสมาคมมูลนิธิ องค์กรต่างๆ ร่วมกับวัดพระธรรมกายและมูลนิธิธรรมกายจัดขึ้น ซึ่งมีข้าราชการ ทหาร ตำรวจ พ่อค้า และประชาชนใน จ.ยะลา กว่า 500 คน เข้าร่วมในพิธีดังกล่าว เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ความไม่สงบที่ผ่านมา โดยมีพระสงฆ์มารับบิณฑบาต จำนวน 109 รูป


" ครั้งที่ 83 :
9 มิถุนายน พ.ศ.2555
ณ วัดพุทธภูมิ จังหวัดยะลา "

พิธีถวายสังฆทานแด่พระภิกษุใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งที่ 80 
และพิธีมอบกองทุนหนุนแรงใจช่วยครูใต้ จ.ปัตตานี
 

ที่มา - http://www.dmc.tv