ประโยชน์ - ขนุน


       ขนุน หรือ ผลไม้ขนุน คนไทยส่วนใหญ่ชอบหาซื้อนำมารับประทานเป็นของว่างนักแลเพราะ ขนุน ทั้งหวานหอมและก็อร่อย อีกด้วยค่ะ และนอกจากนั้นยังไม่พอ ขนุน ยังถือเป็นอีกหนึ่งสมุนไพรไทยอีกด้วยค่ะและมีสรรพคุณทางการรักษาและส่วนที่ใช้ในการทำเป็นยาก็คือ เมล็ด เนื้อหุ้มเมล็ด ใบ ยาง แกนและรากค่ะ เรามาดูสรรพคุณและ ประโยชน์ของขนุน กันเลยค่ะ

สรรพคุณ / ประโยชน์ ขนุน
- เมล็ด ให้ใช้ประมาณ 60-240 กรัม ต้มสุกกินจะมีรสชุ่มช่วยขับน้ำนมในสตรีหลังคลอดมีน้ำนมน้อยหรือไม่มีน้ำนม ช่วยบำรุงร่างกาย
- เนื้อหุ้มเมล็ด ให้ใช้สดผสมกับน้ำหวานกินบำรุงกำลังหรือจะกินเป็นขนมก็ได้
- ใบ ใช้สดนำมาตำให้ละเอียดอุ่นแล้วพอกแผล ใบแห้งให้บดเป็นผงโรยหรือใช้ผสมทาตรงที่เป็นแผลใช้สำหรับภายนอก รักษาแผลมีหนองเรื้อรัง

- ยาง จะมีรสจืดฝาดเล็กน้อยให้ใช้ยางสดทาบริเวณที่บวมอักเสบ แผลมีหนองเรื้อรัง ต่อมน้ำเหลืองเกิดจากแผลมีหนองที่ผิวหนัง
- แกนและราก ใช้แห้งประมาณ 30-60 กรัม นำมาต้มน้ำรับประทานจะมีรสหวานชุ่ม รักษากามโรค และบำรุงเลือด
ตำรับยา
ให้ใช้เมล็ด 60-240 กรัม หรือจะใช้เมล็ดนำมาต้มให้สุกกินหรือจะนำมาผสมกับน้ำหวานและกะทิกิน สำหับสตรีหลังคลอดที่มีน้ำนมน้อยหรือไม่มีน้ำนมใช้กินได้

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา
       ในเมล็ดขนุนสดจะมีสารมีฤทธิ์คล้าย acetylcholine และมีความชื้นประมาณ 51-6% โปรตีน 6.6% ไขมัน 0.4% คาร์โบไฮเดรท 38.4. แร่ธาตุ 1.5% แคลเซียม 0.05% เส้นใย 1.5% ฟอสฟอรัส 0.13% วิตามินบี.1 และบี.2 เหล้กอีกประมาณ 1.2 มก.% ในผลนั้นมีความชื้น 77.2% คาร์โบไฮเดรท 18.9% โปรตีน 1.9% ไขมัน 0.1% แคลเซียม 0.02% แร่ธาตุ 0.8% ฟอสฟอรัส 0.03% เหล็ก 0.5 มก.% วิามินเอ.540 I.U.วิตามินซี. 10 มก.% ส่วนผลสุก พบว่ามีสารสีเหลือง morin, cyanomaclurin และตรงเปลือกต้นก็มี resin,cycloheterophyllin tannin ยางก็มีสารละลายน้ำประมาณ 65.9-76.0% caoutchouch 2.3-2.9% และตะกอนจากน้ำยางมี caoutchouc 6.0-10.0% resins 82.2-86.4 % และสารที่ไม่ละลายน้ำอีกประมาณ 3.9-8.1% นอกจากยางแล้วในน้ำยางแห้ง ยังมีผลึกสาร steroketone,artostenone

หมายเหตุ
- ผลอ่อน นำมาต้มเป็นผักจิ้มแล้วยังมีฤทธิ์ฝาดสมาน รักษาอาการท้องเสีย
- ผลสุก จะมีกลิ่นหอมเนื้อในจะมีสีเหลืองนำมารับประทานได้หรือผสมกับน้ำหวานรับประทานเป็นขนม
- เนื้อในสีเหลืองลื่น รับประทานรักษาโรคเกี่ยวกับทรวงอก รับประทานมากจะเป็นยาระบายอ่อน ๆ
- ใบสด ใช้ต้มน้ำให้สัตว์กินช่วยขับน้ำนมและสามารถนำมาเผากับซังข้าวโพดและกะลามะพร้าวให้เป็นเถ้า ใช้เถ้ารักษาแผลที่เป็นแผลเรื้อรัง
- น้ำยาง จะมี resins ใช้เป็นสารเคลือบวัสดุหรือจะนำมาผสมกับยางไม้อื่นเพื่อทำตังดักนกก็ได้ นอจากนี้ยังใช้เป็นยารักษาโรคซิฟิลิส และขับพยาธิ แกนไม้ ที่เราเรียกว่า กรัก ซึ่งเป็นไม้สีเหลืองเข้มออกน้ำตาลทำให้ปลวกและราไม่ขึ้น สามารถทำเฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์หรือเครื่องดนตรีได้ดี ประโยชน์ในทางยาจะมีรสหวานชุ่ม ขม สามารถใช้บำรุงกำลังและบำรุงโลหิต ฝาดสมาน รักษาโรคกามโรค นอกจากนี้ยังสามารถนำมาย้อมผ้า โดยการใช้สารส้มเป็นตัวช่วยให้สีติดและทน ผ้าที่ย้อมจะมีสีเหลืองออกน้ำตาลและยังเป็นยาระงับประสาทและโรคลมชัก

ที่มา - http://www.n3k.in.th